วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ศึกษาอิสระ

การศึกษาอิสระ
เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน

พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อพิมพ์แจกสมาชิกหนังสือวชิรญาณ ของหอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อ พ.ศ. 2431 ซึ่งในเวลานั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงได้รับเลือกเป็นสภานายกประจำปี พระราชนิพนธ์เล่มนี้นับเป็นวรรณคดีชิ้นเอกเล่มหนึ่งของไทย
ประวัติ
     พระราชพิธีสิบสองเดือนเป็นความเรียง อธิบายถึงพระราชพิธีต่าง ๆ ที่ทำเป็นประจำในแต่ละเดือน โดยทรงค้นคว้าและแต่งขึ้นทีละเรื่อง จนได้พระราชพิธีทั้งหมด 11 เดือน ขาดแต่เดือน 11 (ทรงเริ่มต้นที่เดือน 12 ก่อน) เนื่องจากติดพระราชธุระจนไม่ได้แต่งต่อจวบสิ้นรัชสมัย
     เนื้อหาในพระราชนิพนธ์เล่มนี้ว่าด้วยพระราชพิธีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นทั้งในสมัยโบราณ และในสมัยที่ทรงแต่ง รวมหลายสิบพระราชพิธีด้วยกัน ทรงเล่าถึงพระราชพิธีต่าง ๆ ด้วยสำนวนภาษาที่ไม่เคร่งครัดอย่างตำรา ในสมัยใหม่อาจเรียกได้ว่าสารคดี
     พระราชพิธีสิบสองเดือนเป็นหนังสือที่อ่านได้ไม่ยาก มีรายละเอียดของพระราชพิธีในส่วนต่าง ๆ อย่างครบถ้วน นอกจากทรงเล่าถึงพระราชพิธีตามตำรับโบราณแล้ว ยังทรงมีพระราชวินิจฉัยในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างแยบยล
คุณค่าทางวรรณศิลป์
     พระราชนิพนธ์เล่มนี้นับเป็นแบบอย่างทั้งการเขียนความเรียง และตำราอ้างอิงที่สำคัญเกี่ยวกับพระราชพิธีของไทย ครั้นเมื่อ สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้น พระราชนิพนธ์ พระราชพิธีสิบสองเดือน ก็ได้รับการยกย่อง ว่าเป็น "ยอดของความเรียงอธิบาย" นอกจากนี้ยังได้รับการจัดเป็นหนึ่งใน หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน
รายชื่อพระราชพิธีในเรื่อง

  • เดือน 1
    • พระราชพิธีไล่เรือ
  • เดือน 2
  • เดือน 3
    • พิธีธานยเทาะห์
    • พิธีศิวาราตรี
  • เดือน 4
    • พิธีรดเจตร
    • พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์
  • เดือน 5
    • พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล (ถือน้ำ)
    • พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน
    • พิธีทอดเชือก
    • พิธีสงกรานต์
  • เดือน 6
  • เดือน 7
    • พระราชพิธีเคณฑะทิ้งข่าง
    • พระราชพิธีทูลน้ำล้างพระบาท
  • เดือน 8
  • เดือน 9
    • พิธีตุลาภาร
    • พระราชพิธีพรุณศาสตร์
  • เดือน 10
  • เดือน 11
    • พระราชพิธีแข่งเรือ
  • เดือน 12
    • พระราชพิธีจองเปรียงการพระราชพิธีเดือน 12 ซึ่งมีมาในกฎมนเทียรบาลว่าพิธีจองเปรียง ลดชุดลอยโคม ตรวจดูในความพิสดารในกฎหมายนั้นเองก็ไม่มีข้อความใดกล่าวถึงเสาโคมและการจุดโคมอย่างหนึ่งอย่างใดชัดเจน หรือจะเป็นด้วยเป็นการจืด ผู้ที่แต่งถือว่าใครๆก็เห็นตัวอย่างอยู่แล้ว ไม่ต้องกล่าว มีความแปลกออกไปนิดเดียว แต่การที่ว่าการพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม และเติม “ลงน้ำ” เข้าอีกคำหนึ่ง คำที่ว่า “ลงน้ำ” นี้จะแปลว่ากระไรก็สันนิษฐานยาก จะเข้าใจว่าเอาโคมที่เป็นโครงไม้ไผ่หุ้ม ผ้าที่ชักอยู่บนเสามาแต่ต้นเดือนลดลงแล้วไปทิ้งลงน้ำ ก็ดูเคอาะไม่ได้การเลย หรืออีกอย่างหนึ่งจะเป็นพิธีที่ว่าเมื่อลดโคมแล้ว ลอยกระทง สมมติว่าเอาโคมนั้นลอยไปตามลัทธิพราหมณ์ ที่พอใจลอยอะไรๆจัดอยู่ เช่นกับลอยบาปล้างบาป จะถือว่าเป็นลอนเคราะห์ลอนโศกอย่างใดไปได้หลอกกระมัง การก็ตรงกับลอยกระทง ลางทีจะสมมุติว่าลอยโคม ข้อความตามกฎมนเทียรบาลมีอยู่แต่เท่านี้
    •      ส่วนการพระราชพิธี ซึ้งได้ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันนี้นับว่าเป็นพระราชพิธีพราหมณ์ มิได้เกี่ยวข้องด้วยพระพุทธศาสนาสืบมา กำหนดที่ยกโคมนั้นตามประเพณีโบราณว่า ถ้าปีใดมีอธิกมาสให้ยกโคมตั้งแต่วันขึ้นค่ำหนึ่งไป จนวันแรมสองค่ำเป็นวันลดโคม ถ้าปีใดไม่มีอธิกมาสให้ยกโคมขึ้นสิบสี่ค่ำ เดือนอ้ายขึ้นค่ำหนึ่ง เป็นวันลดโคม อีกนันหนึ่งว่ากำหนดตามโหราศาสตร์ว่าพระอาทิตย์ถึงราศีพิจิก พระจันทร์อยู่ราศีพฤษภเมื่อใด เมื่อนั้นเปนกำหนดที่จะยกโคม อีกนัยหนึ่งกำหนดดวงดาวกัตติกาคือดาวลูกไก่ ถ้าเห็นดาวลูกไก่นั้น ตั้งแต่ค่ำจนรุ่งเมื่อใด เป็นเวลายกโคม การที่ยกโคมนั้นตามคำโบราณกล่าวว่ายกขึ้นเพื่อบูชาพระเจ้าทั้งสาม คือพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม การซึ่งว่าบูชาพระเจ้าทั้งสามนี้เป็นต้นตำราแท้ในเวลาถือไสยศาสตร์ แต่ครั้งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงนับถือพระพุทธศาสนา ก็กล่าวว่าบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในดาวดึงส์พิภพ และบูชาพระพุทธบาท ซึ่งปรากฏอยู่ ณ หาดทรายเรียกว่านะมะทานที เป็นฝูงนาคทั้งปวงสักการบูชาอยู่ แต่ถึงว่าโคมไฟที่อ้าวว่าบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธบาทดังนี้แล้ว ก็ยังเป็นพิธีของพราหม์พวกเดียว คือตั้งแต่พระราชพิธี พราหมณ์ก็เข้าพิธีในพระบรใมหาราชวังและเวลาเช้าถวายน้ำพระมหาสังข์ตลอดจนวันลดโคม เทียนซึ่งจะจุดโคมนั้นก็หาเปรียง คือ ไขข้อพระโคซึ่งพราหมณ์นำมาถวายทรงทา การบูชากันด้วยน้ำมันไขข้อนี้ก็เป็นลัทธิพราหมณ์แท้ เป็นธรรมเนียมสืบมา จนแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าการพระราชพิธี ทั้งปวงควรจะให้เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาทุกๆพระราชพิธี จึงโปรดให้มีการสวดมนต์เย็น ฉันเช้าก่อนเวลาที่ยกเสาโคม พระสงฆ์ที่สวดมนต์นั้น พระราชาคณะไทย ๑ พระครูปริตรไทย ๔ พราะราชาคณะรามัญ ๑ พระครูปริตรรามัญ ๔ รวมเป็น ๑๐ รูป เวลาทรงศีลแล้ว ก่อนสวดมนต์ มีอาลักษณ์อ่านคำประกาศแสดงเรื่องพระราชพิธี และพระราชดำริซึ่งทรงจัดเพิ่มเติม และพระราชทานแผ่พระราชกุศลแก่เทพยาดาทั้งปวง แล้วพระสงฆ์จึงได้สวดมนต์ต่อไป เวลาเช้าพระฤกษ์ทรงรดน้ำสังข์และเจิมเสาโคมชัยแล้วจึงได้ยก พระสงฆ์สวดชยันโตในเวลายกเสานั้นด้วย ครั้งพระสงฆ์ฉันแล้วถวายไทยทาน ขวดน้ำมัน,ไส้ตะเกียง,โคม ให้ต้องเรื่องกันกับพระราชพิธีการสวดมนต์เลี้ยงพระยกโคมนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกไม่ใครจะขาด เสาโคมชัยประเทียบนั้นตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์แต่เดิมมา มีโคมชัยสามต้น โคมประเทียบสามต้น เสาใช้ไม้แก่นยาว ๑๑ วา เสาโคชันที่ยอดเสามีฉัตรผ้าขาว โครงไม้ไผ่ ๙ ชั้น โคมประเทียบ ๗ ชั้น เสาตระเกียบทาปูนขาวตลอด มีหงส์ลูกพรวนติดชักขึ้นไปให้มีเสียงดัง ตัวโคมโครงไม้ไผ่หุ้มผ้าขาว โคมบริวารเสาไม้ไผ่๑๐๐ ต้น ฉัตรยอด ๓ ชั้นทำด้วยกระดาษ ปลายฉัตรเป็นธง ตัวโครงไม้ไผ่ปิดกระดาษ โคมชัยโคมประเทียบเป็นพนักงานสี่ตำรวจ โคมบริวารเป็นพนักงานตำรวจนอกตำรวจสนม รอบพระราชวังมีโคมเสาไม้ไผ่ ตัวโคมข้างในสานเป็นชะลอม ปิดกระดาษเป็นรูปกระบอกตรงๆ เป็นกรมล้อมพระราชวังทำ ปักตามใบเสมากำแพงมีจำนวนโคม ๒๐๐ ครั้งเมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีเติมขึ้นพระที่นั่งอนันตสมาคม(พระที่นั่งอนันตสมาคมในพระราชนิพนธ์นี้หมายว่าองค์แรก สร้างเมื่อในรัชการที่๔ อยู่หลังพระที่นั่งสุทไธสวรรค์ เดี๋ยวนี้รื้อเสียแล้ว) โคมชัย ๒ต้น โคมบริวาร ๑๐ต้น แต่ใช้โคมแก้วกระจก สีเขียว,สีแดง,สีน้ำเงิน,สีเหลือง,สีขาว, อย่างละคู่ การพระราชพิธียกเสาโคมชัยนี้เมื่อเวลาเสด็จประทับอยู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ก็ทำที่พระที่นั่งอาภรณ์พิโทกข์ เมื่อเวลาเสด็จไปประทับอยู่ในพระที่นั่งฝ่ายบูรพทิศ ก็ทำที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์บ้าง ด้วยมีเสาโคมชัยขึ้นในที่นั้น และเสด็จประพาสตามหัวเมืองมีพระราชวังแห่งใด ก็โปรดให้ยกเสาโคมชัยสำหรับพระราชวังนั้น คือที่วังจันทรเกษม วังนารายณ์ราชนิเวศน์ และพระนครคิรี และที่วังปฐมเจดีย์ทุกแห่งเทียนซึ่งสำหรับจุดโคมชัยคืนละ ๒๔ เล่ม (หรือมีเสาชัยทางพระที่นั่งอนันตสมาคมก็เป็น ๓๒ เล่ม) ฟั่นที่ห้องมนัสการเล่มยาวๆพอจุดได้ ๓ ชั่วโมง ยังเหลือเศษในสวดมนต์ยกโคมชัย เจ้าพนักงานนำเทียนนี้ไปเข้าพิธีด้วย แล้วจึงเก็บไว้ถวายวันละ ๒๔ เล่มหรือครบสำรับหนึ่ง เวลาพรบเสด็จพระราชดำเนินออกประทับที่เสาโคมชัย มหาดเล็กนำพานเทียน ๒๔ เล่มกับเทียนชนวนซึ่งเสียบอยู่กับเชิงเล่ม ๑ วางในพานเล่ม๑ ขึ้นถวายพระมหาราชครูพิธีจึงนำตรับเปรีบยขึ้นถวาย บ่ายพระพักตร์สู่ทิศศรีของวันนั้น แล้วทรงเจิมทั้งมัดนั้นด้วยเปรียงเป็นรูปอุณาโลม ด้วยคาถา “อรหํ สัมมา สัมพุทโธ” แล้วจึงทรงหาเปรียงทั่วทุกเล่มเทียน ชักเทียนออกจากมัด ๖ เล่ม พระมหาราชครูจึงจุดเทียนชนวนซึ่งมีมาแต่โรงพิธี จากโคมซึ่งตามเพลิงพิธีนั้นมาถวาย ทรงเทียนชนวนซึ่งเสียบมากับเชิงจุดเพลิงจากเทียนชนวนพราหมณ์แล้วทรงบริกรรมคาถา “ทิวา ตปติ อาทิจโจ” จนถึง “มังคลัตถํ ปสิทธิยา” แล้วจึงจุดเทียน ๖ เล่มนั้น เมื่อติดทั่วกันแล้วทรงอธิษฐานด้วยคาถา “อรหํ สัมมาสัมพุธโธ” จนตลอดแล้วจึงได้พระราชทานเทียนเล่ม ๑ ให้กรมพระตำรวจรับไปปักในโคมชัยต้นที่หนึ่ง ที่เหลือนั้นอีก ๔ เล่ม พระราชทานพระเจ้าลูกเธอไปทรงจุดโคมชัยโคมประเทียบ ในเวลาเมื่อทรงชักสายในโคมชัย เจ้าพนักงานโคมแตรสังข์ฆ้องชัยพิณพาทย์จนสิ้นเวลาที่ยกโคม ทีแต่ยามแรกยามเดียว เมื่อยกโคมเสร็จแล้วจึงพระราชทานเทียนสำหรับโคมชัยโคมประเทียบที่ยังเหลืออยู่อีก ๑๘ เล่ม สำหรับเปลี่ยนอีก ๓ ยาม และเทียนชนวนที่เสียบอยู่บนเชิง ให้กรมพระตำรวจรับไปจุดโคมบริวาร เทียนชนวนซึ่งเหลืออยู่อีกเล่มหนึ่งนั้น พระราชทานพระมหาราชครูพิธีสำหรับจะได้นำมาเป็นชนวนจุดเพลิงถวายในคืนหลังๆต่อไป การจุดโคมชัยนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทรงจุดเองไม่ใคร่จะขาด แต่ครั้งเมื่อมีเสาโคมทางหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมขึ้น ไม่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกโคมทางพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์นี้ โปรดให้พระเจ้าลูกเธอเสด็จมาทรงยกโคมที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมเอง ตลอกจนโคมบริวารทั้ง ๑๒ ต้นโดยมาก แต่การซึ่งยกโคมนี้ได้ความว่า เมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เวลายกโคมยามแรกเป็นเวลาที่เข้าพระบรรทม ไม่ได้เสด็จออกทรงยกโคมเลย ต่อคราวที่ ๒ เวลาเสด็จออกทรงธรรม มหาดเล็กจึงได้นำเทียนถวายทรงจุดพระราชทานให้ กรมพระตำรวจออกเปลี่ยน แต่ในแผ่นดินปัจจุบันนี้(ร.๕)เสด็จออกบ้าง ไม่ออกบ้าง ถ้าไม่เสด็จออก พราหมณ์ต้องส่งเปรียงและเพลิงเข้าไปข้างใน ทรงจุดพระราชทานพระเจ้าลูกเธอออกมายกโคม เหมือนในแผ่นดินสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในเวลาที่ไม่ได้เสด็จออกนั้นและมีเสาโคมในพระบรมมหาราชวังปักประจำทุกตำหนักเจ้านาย ถ้าเป็นตำหนักเจ้าฟ้าใช้เสาไม้แก่ทาขาว ฉัตรผ้าขาว ๕ ชั้น โคมโครงไม้ไฝ่หุ้มผ้าขาวอย่างเดียวกันกับโคมประเทียบมีครบทุกพระองค์ ถ้าเป็นตำหนักพระองค์เจ้าหรือเรือนข้างในใช้เสาไม้ไผ่ โคมโครงไม้ไผ่ปิดกระดาษอย่างโคมบริวารมีทั่วทุกตำหนัก แต่โคมทั้งปวงใช้ตระเกียงด้วยถ้วยแก้วหรือชามทั้งสิ้น เหมือนโคมบริวารข้างนอก ตามวังเจ้านายซึ่งอยู่นอกพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่พระราชวังบวรฯ เป็นต้นลงไปมีเสาโคม แต่ในพระราชวังบวรฯเท่านั้น มีโคมชัย,โคมประเทียบ,โคมบริวาร คล้านในพระบรมมหาราชวัง วังเจ้าฟ้ามีเสาโคมเหมือนโคมชัยแต่ใช้ฉัตร ๕ ชั้น เจ้านายนอกนั้นตามแต่เจ้าของจะทำ ในการพระราชพิธีจองเปรียงนี้ มีหน้าที่ของมหาดเล็กซึ่งมักจะลืมหรือไม่รู้สึกบ่อย คือเวลาเย็นพลบพนักงานนำเทียนออกมาส่ง ลางทีก็ไม่มีใครรับ เวลาจะทรงต้องเรียกกันโวยวายอย่างหนึ่ง หรือถ้ารับเทียนแล้วเวลาจะนำไปถวายมักจะจุดเทียนชนวนเข้าไปถวาย การที่มหาดเล็กทำดังนี้เป็นการไม่ระวังในหน้าที่ของตัวเองและไม่รู้จักจำ อีกอย่างหนึ่ง มื่อเสด็จออกพระราชทานเทียนให้พระเจ้าลูกเธอ หรือไม่ได้เสด็จออกพระราชทานเทียนให้พระเจ้าลูกเธอออกไป ก็เป็นหน้าที่ของมหาดเล็กที่จะเชิญพระเจ้าลูกเธอไปทรงจุดโคมทุกๆเสา และช่วยชักสายในเวลาที่ทรงชักโคมนั้นด้วย ส่วนพนักงานของกรมพระตำรวจนั้น เป็นหน้าที่ของเจ้ากรมพระปลัดกรมจ่าเจ้าของเวร ต้องมาคอยรับเทียนไปติดในโคมชัยใบแรกที่จะทรงชัก เมื่อเวลาทรงชักต้องคอยโรยหางเชือก หรือถ้าเวลาฝนตกลงมาเชือกเปียกชื้นชักฝืดก็ต้องมาช่วยสาวเชือกชักดคมนั้นด้วยอีกโคมหนึ่ง แล้วรับเทียนสำหรับเปลี่ยนโคมและเทียนชนวนไปจุดโคมบริวาร ในพระราชพิธีจองเปรียงมีการที่สำหรับจะไม่เรียบร้อยพร้อมเพียงอยู่เพียงเท่านี้
        • พระราชพิธีกะติเกยา